เทศบาลตำบลบ้านเป็ด

ประวัติความเป็นมา

ประวัติบ้านเป็ด

      กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๐๙ (หรือประมาณ ๒๔๘  ปีมาแล้ว)  มีบ้าน ๆ หนึ่งชื่อว่า "บ้านกุดเข้" อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน เกิดกันดารอาหาร บันดาลแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ ใหญ่ ๆ หลายหมู่บ้านอยู่ใกล้ชิดติดกัน ประชากรแออัดยัดเยียด แย่งกันทำมาหาเลี้ยงชีพ ด้วยความยากลำบากนานาประการ จนนักกาพย์ กลอนโบราณท่านได้ร้องเป็นทำนองคำกลอนว่า ปี ๒๓๐๙ ปีข้าวบาทละขัน (หรือขันข้าวต่อขันเงิน) อีกตอนมีกลอนของพ่อใหญ่พระสีหานามว่า "พ่อใหญ่พระ สีหานาม คนบ่อถามกะเว้า ตั้งแต่เค้าลาวอยู่ร้อยเอ็ด ลาวมาอยู่บ้านเป็ดตั้งแต่ปีอึดอยาก" ดังนี้

    ดังนั้น ยังมีบรรพบุรุษผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยสติปัญหา สามารถรู้ล่วงหน้าว่า อนาคตกาลข้างหน้าของการทำมาหาเลี้ยงชีพนับวันจะฝืดเคือง เพราะประชาชนพลเมืองจะยิ่งทวีจำนวนมากขึ้น ท่านเหล่านั้นจึงใคร่คิดถึงลูก ๆ หลาน ๆ ที่จะเกิดมาสุดท้ายภายหลังจะพบกับความอดอยากยากเข็ญ จึงใคร่จะหาแหล่งที่ทำมาหาเลี้ยงชีพที่อุดมสมบูรณ์และกว้างขวางที่ไม่มีผู้คนแออัดยัดเยียดจนเกินไปเพื่อจะได้ไปตั้งถิ่นฐานบ้านใหม่ตามความประสงค์ จึงตกลงเป็นเอกฉันท์พากันมุ่งแสวงหา บ่ายหน้ามาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดร้อยเอ็ดตามลำแม่น้ำชีขึ้นมา ครั้นมาถึงลุ่มแม่น้ำชีแหล่งหนึ่ง ซึ่งเป็นป่าแซง เรียกว่า "แซงน้ำต้อน" บรรพบุรุษของเราจึงพากันสงสัย และติดใจที่ราบลุ่มแห่งนี้จึงพากันสำรวจตรวจดูตามบริเวณต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง จนต้นน้ำลำธารที่ไหลผ่านที่ราบป่าแซงลงมาสู่แม่น้ำชี ปรากฏว่ามีห้วยเล็กห้วยใหญ่ไหลมาบรรจบกันถึง ๔ ห้วย คือ

  1. ห้วยแสง (ห้วยบ่อ)
    เกิดจากภูเขา "ภูพานคำ" ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไหลลงสู่ป่าแซงเหมือนกัน อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน
  2. ห้วยน้ำเค็ม
    เกิดจากภูพานคำตอนใต้ ไหลขนานกันลงมาสู่ห้วยน้ำเค็มสู่ป่าแซงแม่น้ำชี ห้วยนานี้อยู่ทิศตะวันตกของบ้านโพนทอง และหมู่บ้านเป็ดอีกด้วย
  3. ห้วยนา
    เกิดจากภูเขา "เขาเม็ง" ทางทิศตะวันตกไหลมาทางทิศตะวันออกสู่ป่าแซงเช่นทุก ๆ ห้วยรวมกันแล้วไหลสู่แม่น้ำชีต่อไป
  4. ห้วยผึ้ง
    ไหลจากทางทิศเหนือลงสู่ใต้ป่าแซง แต่เป็นห้วยเล็กและสั้นด้วยอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็ดปัจจุบัน

      ในบรรดาห้วยทั้งสิ้นนี้ บรรพบุรุษของเราขบวนแรก เห็นว่าที่ราบลุ่มลำห้วยนาเป็นที่เหมาะสมคงจะอุดมสมบูรณ์ เพราะเป็นดินเหนียว และเหนียวปนทรายบ้าง เหมาะแก่การปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ด้วยจึงพากันกลับบ้านไปเอาญาติพี่น้องมาดูด้วยกันหลาย ๆ สิบคน และทุก ๆ คนที่ได้มาดูก็เห็นพ้องกันตกลงเป็นเอกฉันท์

     ขณะนั้น พ่อ-แม่ และพี่น้องบางส่วนของเราบ้านกุดแข้ จึงพากันอพยพหลบหนีจากความอดอยากบากหน้ามาหากิน และตั้งถิ่นฐานบ้านน้าวใหม่ในที่ราบลุ่มห้วยนาตั้งแต่บัดนั้น และพากันตั้งบ้านเรือนอยู่สันดอนแห่งหนึ่ง ริมฝั่งหนองแวงเรียกชื่อว่า "บ้านหนองแสวงโพนทอง" เพราะมีโพนต้นทองหลางขึ้นอยู่ตามหนองนั้น ต่อมากาลเวลาก็ผลัดเปลี่ยนและหมุนเวียน คำว่า "หนองแวง" ก็ตกหล่นไป คงเหนือแต่คำว่า "บ้านโพนทอง" หรือ "พลทอง" บ้านพลทองนี้มีการทำนาและเลี้ยงสัตว์ดีมาก ทรัพยากรต่าง ๆ ก็มี เช่น ป่าไม้ ไม้ไผ่ ไม้โจด ตลอดปูปลา น้ำท่าบริบูรณ์ดี คุณพ่อ "ขุนธรรมเสนา" เป็นผู้ใหญ่ปกครองลูกบ้านด้วยขันติวิริยะและสุจริตธรรมเป็นอย่างดี ขึ้นต่อตำบลบ้านทุ่ม ขณะนั้นพ่อขุนหมื่นนิวาสเป็นกำนัน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของบ้านพลทองขึ้นไป และบ้านพลทองขณะนั้นคงเป็นบ้านเล็ก ๆ คงจะไม่เกิน ๔๐-๕๐ หลังคาเรือน โดยประมาณ หรือคาดคะเน

     บรรพบุรุษจำพวกแรกนี้ ที่ได้ดำริตริตรองถึงการดำรงชีพในอนาคตไม่ปรากฏนามคงจะเป็นรุ่นพี่ รุ่นพ่อ รุ่นปู่ หรือรุ่นปู่ทวดด้วยซ้ำไปก็ได้ ดังตำนานหรือพงศาวดารอำเภอทุ่มได้เขียนไว้ว่า คุณพ่อปาน ต้นตระกูล หาญสุริย์เป็นนายอำเภอ ประจำอยู่อำเภอทุ่มระยะหนึ่ง และท่านได้เป็นบิดาของคุณพ่อหาญ คุณพ่อหาญเป็นบิดาของคุณพ่อสุริยะ คุณพ่อสุริยะ คุณพ่อสุริยะเป็นบิดาของคุณพ่อจารย์บัวพา และคุณพ่อจารย์นาม หาญสุริย์ ดังนี้ โปรดได้สังเกตและพิจารณาเถิด

     ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๑ หรือ ๑๒ ปี ที่หมู่บ้านพลทองบังเอิญเกิดภัยพิบัติโรคระบาดและโรคติดต่อขึ้น ผู้คนก็แตกกระเจิงหลบลี้ภัย ทุกคนทุกครอบครัวไม่เป็นอันอยู่อันกินเกิดโกลาหลวุ่น ๆ วาย ๆ เกิดกระจัดกระจายไปทั่วทุกแห่งทุกหนและผู้คนในสมัยนั้นยังเชื่อเคร่งในโชคลางผีสางเทวดาอยู่มาก เลยเห็นว่าเป็นบ้านเข็ดบ้านขวาง เพราะสันดอนที่ปลูกบ้านยาวขวางตะวัน ถ้าขืนอยู่ต่อไปจะไม่อยู่เย็นเป็นสุข คงจะมีแต่ทุกพิษภัยเท่านั้นตามที่หมออธรรมและลำเยาว์ทำนายให้ ดังนั้นจึงพากันคิดค้นคว้าแสวงหาที่จะตั้งบ้านใหม่ไร้โรคาต่อไป ในปีเดียวกันนั้นยังมีหนุ่มคนหนึ่งไม่ปรากฏชื่อ เป็นนายพรานนกในหมู่บ้านพลทอง เคยข้ามห้วยน้ำเค็มมายิงนกเป็ดที่หนองกลางดอนแห่งหนึ่ง ซึ่งปรากฏว่าเป็นซากบ้านเก่า ๆ สมัยขอมครอบครองแผ่นดินถิ่นนี้ เพราะมันมีต้นโพธิ์ใหญ่ ๆ และเศษอิฐเศษหินเก่า ๆ ตามเนินดินบางแห่ง ขณะนี้มีป่านานาสารพัดขึ้นมากมายแล้ว เช่น จำพวกไผ่และโจด เป็นต้น ซึ่งสันดอนแห่งนี้ทอดยาวไปตามตะวันขึ้นและลง (ไม่ขวางตะวัน) หนองแห่งนี้เลยให้ชื่อว่า "หนองนกเป็ด" เมื่อนกเป็ดฝูงนี้บินจากที่แห่งหนึ่ง มันจะบินลงอีกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นรางน้ำทางน้ำ ไหลจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ไปบรรจบห้วยน้ำเค็มและมีบ้านร้างเล็ก ๆ บ้านหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า "ดอนบ้านบ่อ" ชาวบ้านบ่อนี้พากันกั้นเป็นคูเล็ก ๆ กั้นน้ำไว้เป็นหนองอาศัยแต่คราวโน้น ดังนั้นน้ำก็ยังขังค้างอยู่เป็นบางจุดที่ค่อนข้างลึก นั่นแหละนกเป็ดป่าฝูงนั้นมันจะบินลงแหล่งน้ำนี้ประจำ พรานนกคนนี้เลยนำเรื่องที่ดินสันดอนและหนองน้ำแห่งนี้ที่ตนได้ประสบ ไปเล่าสู่ท่านพ่อขุนธรรมฯ ฟังท่านได้ฟังแล้วก็ติดใจใคร่จะเห็น จึงประชุมปรึกษากัน ตกลงเป็นเอกฉันท์จึงพากันมาสำรวจตรวจดูที่แห่งนี้ ปรากฏว่าทุก ๆ คนเห็นพ้องต้องกันว่าดีเหมาะสมและอุดมสมบูรณ์มากยิ่งกว่าเดิม จึงพากันอพยพโยกย้ายจากถิ่นฐานบ้านพลทองจะร้าง สาว ๆ จ่ายผญา และสุภาษิตอีสานว่า โอ-นอ อ๊ายพี่เอ๊ยครั้นซิลัยลืมน้องสังบ่อลัยตั้งแต่บ้านเมืองเฮายังตั้งเที่ยง บาดห่าเฮาคอยเมืองเฮาเหงี่ยง บาดห่าบ้านเฮาเหลืองเมืองเฮาหล่าง บาดห่าบ้านเมืองเฮาซิฮ้าง เป็นอี่มะโหล่นโต้นเต้นซิวางน้องให้แก่ไผ นออ้ายพี่เอ๊ย

     แล้วบรรพบุรุษของเราได้ตั้งชื่อหรือขนานนามบ้านใหม่นี้ว่า "บ้านหนองนกเป็ด" หลายปีหลายสมัยต่อ ๆ มา คำว่าหนองนกเลยตกไป ยังคงเหลือแต่คำว่า "เป็ด" เลยกลายเป็นบ้านเป็ด จนกระทั่งทุกวันนนี้

ประวัติเทศบาลตำบลบ้านเป็ด

     ตำบลบ้านเป็ดแยกออกจากตำบลเมืองเก่า อ.เมือง จ.ขอนแก่น ก่อตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อปีพ.ศ. 2539 เดิมตั้งอยู่ที่สถานีอนามัยตำบลบ้านเป็ด ปีพ.ศ. 2540 ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ปัจจุบัน และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองขอนแก่น ประกอบด้วย 23 หมู่บ้าน

กำเนิดบ้านเป็ด

ภาคที่๑

การอพพยครั้งที่ ๑

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๐๙ (หรือ ๒๓๐ ปีมาแล้ว) ยัง มีบ้านๆหนึ่ง ชื่อว่า "บ้านกุดแข้” อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ครั้งนั้นเกิดกันดารอาหาร บันดาลแห้งแล้ง ประชาชนพลเมืองเกิดอดอยาก ยากแค้นนานาประการ และชาวบ้านบางคน พวกชอบจะเดินทางไปเมืองภูเวียงทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เพราะเมืองภูเวียงเคยเป็นเมืองหน้าด่าน สมัยเมืองเวียงจันทร์ล้านช้าง การเดินทางก็ตามแนวฝั่งแม่น้ําลําชีขึ้นมา (เพราะบ้านกุดแข้ก็ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ําลําชี) เมื่อเดินมาถึงห้วยใหญ่ไหลตกลําชี ที่บริเวณบ้านกุดกว้างขณะนี้ ทางก็แยกจากฝั่งลําชีขึ้นมาทางทิศเหนือ และเว้นที่ราบลุ่มป่าแซง ชาวบ้านบริเวณใกล้นั้นเรียกว่า "แซงน้ําต้อน” แซงน้ําต้อนนี้มี ๔ ลําห้วย ไหลมารวมกันที่ลุ่มป่าแซงตกไปห้วยใหญ่ไหลลงลําชี

(๑) “ห้วยแสง” ไหลจากทางทิศเหนือสู่ทางทิศใต้ ไหลเข้าป่าแซง แต่เป็นห้วยเล็ก ๆและสั้น

(๒) “ห้วยน้ําเค็ม” (ห้วยบ่อ) ไหลมาจากทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไหลเข้าป่าแซง เป็นห้วยใหญ่และยาว เกิดจากภูเขา “พานคํา”

(๓) “ห้วยนา” (ห้วยใหญ่) เกิดจากภูเขาพานคําตอนใต้ ไหลขนานกันลงมากับห้วยบ่อ เข้าสู่ป่าแซง

(๔) “ห้วยผึ้ง” (ห้วยเพิ่ง) เกิดจากภูเขา “เม็ง” (ภูเม็ง) ไหลจากตะวันตกสู่ตะวันออก และเข้าป่าแซงเช่นเดียวกัน หมายเหตุ ห้วยที่ ๓ เรียกชื่อว่า “ห้วยใหญ่” ผู้คนมาตั้งบ้าน ที่นาก็เกิดขึ้นมากทั้งสองฝั่ง ลําห้วย ผู้คนจึงมาเรียกว่าห้วยนา และสามห้วยสุดท้ายใหญ่ยาวเหมือนกัน บรรพบุรุษของเรา ที่เคยเทียวไป - มาทางเมืองภูเวียง ได้พากันพิจารณาถึงที่ ราบลุ่มทั้งสองฝั่งของลําห้วยนา ว่าเป็นที่ดินดี

(เหนียวปนทราย) เหมาะแก่การทํานา ป่าไม้ก็ เช่น ตปีก มะกอก สะแก แคฝอย ข่อย ค้อ พอถึงฤดูน้ํานอง เช่นเดือนกันยายน – ตุลาคม น้าจะมากไหลเอ่อมาแต่ทางทิศเหนือสู่ทางทิศใต้ และไหลเข้าป่าแซงถึงห้วยใหญ่ไหลตกลําชี (ห้วยใหญ่ที่ ๒) ที่ราบลุ่มของลําห้วยและน้ําไหลผ่าน ปีหนึ่งๆถึง ๒ - ๓ ครั้ง น้ําห้วยมาก น้าตะกอนมามากข้าวชอบงามดี เฒ่าแก่โบราญเรียกว่า “นาทม – นาทาม” ข้าวงามดินไม่จืดง่าย ขณะนั่นทางบ้านกุดแข้ก็กําลังอดอยากแห้งแล้ง ประกอบไปด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ ใหญ่ ๆ อยู่ใกล้ชิดติดกันหลายหมู่บ้าน ผู้คนพลเมืองแออัดยัดเยียดกันมาก ยากแก่การทํามาหาเลี้ยงชีพฯ ฉะนั้น บรรพบุรุษของเราจึงพากันอพยพโยกย้ายมาอยู่บ้านใหม่เป็นบางส่วน และจับจองที่นาใหม่ทางลําห้วยนา ตั้งบ้านที่สันดอนขวางตะวันทางทิศตะวันออกของลําห้วยและทางทิศตะวันตกของหนองแวงโพนทอง ให้นามว่า "บ้านหนองแวงโพนทอง” แต่หลายสมัยต่อมาคําว่า หนองแวงก็ตกไป และโพนก็เพื่ยนไปเป็น พล เลยเป็นบ้าน "พลทอง” จนบัดนี่ วัดวาอาราม - โบสถ์ก็เริ่มสร้างใหม่ ๆ การปกครองก็ดี มีคุณพ่อ ขุนธรรมเสนา เป็นผู้ใหญ่บ้านขณะนนคุณพอ "ขุนหมนนวาส บ้านทุ่มเป็นบ้านใหญ่มีประชากรมาก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของบ้านพลทองๆไป็นบ้านเล็กกว่า คงจะ ๔๐ - ๕๐ครอบครัวโดยประมาณต่อมาประมาณ ๑๒ ปี หรือ พ.ศ. ๒๓๒๑ ภัยพิบัติเกิดแก่บ้านพลทองโรคระบาดติดต่อกันขึ้น ผู้คนแตกกระเจิงหลบลีหนีภัย และในสมัยนันยังไม่มีแพทย์ โรงพยาบาลยังไม่มี มีแต่ใช้ยารากไม้ สมุนไพรตามป่าตามดง มาฝนนํา แช่น้ํา ต้มน้ำรากไม้แก่นไม้ กินน้ําร้อนก็ไม่หายคนตายเป็นเบีอ และยังเชื่อหมอมด และหมอธรรมลําเยาว์มาลํารักษาบ้าน เขาทักทายว่าบ้านพลทองเป็นบ้าน "เข็ดขวาง” เพราะสันดอนยาวขวางตะวัน แม้ขึ้นอยู่ ก็จะไม่อุดมสมบูรณ์ เพราะบ้านไม่ถูกโฉลก ไม่มีโชคเหมือนบ้านอีนเขา  ดังนั้น ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านจึงลงความเห็นจะย้ายบ้านหนีอีก ไปตั้งบ้านที่สันโคกสันดอนที่ดีๆไม่ขวางตะวัน ในปีเดียวนันยังมีคนคนหนึ่งซึ่งเป็นนายพรานนก แกเคยมายิงเอานกเป็ดน์ ที่หนองกลางดอน บ้านล้าง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้านพลทอง ชายคนนันก็แจ้ง “นิมิต” อันดีที่เห็นนี แก่พ่อ – แม่ – เฒ่าแก่ฟัง พ่อ – แม่ และเฒ่าแก่จึงพากันมาดูตามที่นายพรานนกพูดสู่ฟัง ดังนัน คุณพ่อ ขุนธรรมเสนา พาลูกบ้านมาสํารวจตรวจดู ทางคณะมุ่งหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามห้วยน้ําเค็ม (ห้วยบ่อ) พอมาถึงมีหนองนํา กลางดอนจริง ๆ และเป็นซากบ้านเก่าแท้ ๆ สมัยขอมครอบครอง มีเศษอิฐ หิน และกระเบือง ตามเนินดินบางแห่ง และมีต้นขามโต ๆ ต้นโพธิ์ใหญ่ ๆ ก็หลายต้น ต่อไปทางทิศตะวันออกเห็นร่องนําทางน้ํา (ห่อมนํา) ค่อนข้างลึกและลึกเป็นหนองเป็นบางจุด ฤดูฝนนําค่อนข้างลึกมาก ฝูงนกเป็ดน้ำบินขึ้นทีหนองกลางดอน จะร่อนลงที่หนองน้ำค้างทางตะวันออกสันดอนอย่างว่า ทางคณะทุกๆ ท่าน ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าจะดีเหมาะสมจะอุดมสมบูรณ์มากยิ่งกว่าเดิม

ภาคที่๒

การอพยพครั้งที่ ๒

นิมิตรหมายอันดี อันแสนประเสริฐ อันปรากฏเกิดแก่ปู่ - ยา - ตา – ยาย ของเราที่บ้านพลทอง ต่างคนต่างครอบครัวจะเริมมาจับจองหาที่ดินจะปลูกบ้าน และให้นามบ้านว่า “หนองนกเป็ด” แต่ต่อมานานเข้าหลายยุคหลายสมัย และประกอบกับผู้คนเกลียดจะเรียกชื่อยาวๆ ชอบจะมักง่ายเรียกชีอสัน ๆ เช่น ว่าบ้านเป็ดๆ ผลที่สุดก็เลยเป็นบ้าน "เป็ด" ตราบเท่าทุกวันนี้ และต่อไปนี่จะเป็นคุ้มต่าง ๆ เพราะต่างพ่อต่างแม่ก็อยู่ตามจุดต่าง ๆ ตามที่ ตนชอบ ดังต่อไปนี้

คุ้มกลาง

๑. คุณพ่อ “ขุนธรรมเสนา” (หัวหน้าคณะ) ท่านเป็นต้นตระกูลของ “พลทองสถิตย์” ท่านจากบ้านพลทองมา เข้ามาอยู่ตอนกลางของบ้าน และท่านเป็นปราชญ์หรือปูชนียบุคคลท่านหนึ่งในหมู่บ้านพลทอง

๒. คุณพ่อ “ป้องขวา” ท่านเป็นต้นตระกูล “มูลป้อม” ท่านจากมาอยู่ที่ตอนกลาง ค่อนข้างทิศเหนือ ของบ้านหนองนกเป็ด

๓. คุณพ่อ "สุภี” ท่านเป็นต้นตระกูลของคําว่า “สิทธิ” ท่านจากมาได้มาอยู่ที่ ตอนกลางทางทิศเหนือของพ่อขุนธรรม

๔. คุณพ่อ "ฉิมมา” ท่านเป็นต้นตระกูลของ "กําบุญมา” ท่านมาอยู่ตอนกลาง ของคุ้มทิศเหนือของพ่อ สุภี

๕. คุณพ่อ “วงศ์” ต้นตระกูลของ “ลุนจันทา” ท่านจากมาอยู่ที่ตอนกลาง ทางทิศตะวันตกของพ่อขุนธรรม

๖. คุณพ่อ “โหม่ง” ต้นตระกูลของ “แจ้งพรมมา” ท่านจากมา อยู่ที่ตอนกลาง ทางทิศตะวันตก

คุ้มหัวบ้าน

๑. คุณพ่อ “เกตุ” ท่านเป็นต้นตระกูลของ "จุลลาบุดดี” ท่านจากมาอยู่ทางตะวันตกสุด ซึ่งเป็นที่ราบสูงกว่าที่ใด ๆ ในบริเวณนี้ (ต่ำไปและน้ําไหลไปทางตะวันออกตกห่อมน้ําที่สร้างทำนบ)

๒. คุณพ่อ “อุษา” ต้นตระกูล “โอดพิมพ์” ท่านจากมาอยู่ทางตะวันตก ใกล้ชิดกับคุณพ่อเกตุ

คุ้มโนนแดง

๑. คุณพ่อ "ขุนพร” ต้นตระกูลของ “นามศรีฐาน” ท่านจากมาอยู่ทางตะวันตกทาง ทิศใต้ของหมู่บ้านเป็ด และท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านคุ้มครองลูกหลา    ตะวันตกของคุณนของหมู่บ้านเป็ด เป็นบุคคลที่ ๒ รองจากคุณพ่อขุนธรรมเสนา

๒. คุณพ่อ "ขัตติยะ” ต้นตระกูล “จันทร์เทพา” ท่านจากมาก็อยู่คุ้มนี้ที่ต้นแดงใหญ่กับคุณพ่อขุนพร

๓. คุณพ่อ “เกิ่ง” ต้นตระกูล “จันทร์โพธิ์” ท่านจากมาได้มาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก

๔. คุณพ่อ “สินสมุทร” ต้นตระกูล “ดีภัย” ท่านจากมา ก็มาปลูกเรือนขึ้นที่คุ้ม ต้นแดง

๕. คุณพ่อ "สมศรี” ต้นตระกูล "วังนัน” ท่านจากมา อยู่ที่คุ้มต้นแดงท่ามกลาง

๖. คุณพ่อ “คําสิงห์” ต้นตระกูล “ หงษ์กา” ท่านจากมา อยู่ที่คุ้มนี้กับพ่อสมศรี

๗. คุณพ่อ "โสดา” ต้นตระกูลของ “ชัยมงคล” ท่านได้ย้ายมาอยู่ทางทิศตะวันออก ใของคุ้มโนนแดง และฝ่ายทิศใต้

คุ้มท่าบึง

คุ้มนี้แต่ก่อนชื่อ“โนนขามป้อม” เพราะต้นขามป้อมมีมากในบริเวณนี้ต่อมาทางบ้านสร้างทํานับขึ้นเป็นหนองน้าประจําบ้าน ลาดลงฝั่งบึงก็เลยพากันนิยมเรียกใหม่ว่า

๑. คุณพ่อ “จารย์จันทา” ต้นตระกูล “สอนถม” ท่านจากมาตั้งอยู่คุ้มนี่ทางทิศ ตะวันออกของคุ้มกลาง ทางฝ่ายทิศใต้

๒. คุณพ่อ "จารย์อ่อนสา” ต้นตระกูล "นาคอก” ท่านย้ายมาอยู่ทางท่าบึงกับคุณพ่อ จันทา อยู่ที่คุ้มท่าบึง ตอนกลางของคุ้ม

๔. คุณพ่อ “จี” ต้นตระกูล “สอนเพ็ง” ท่านจากมาอยู่ที่คุ้มท่าบึง ทางฝ่ายทิศใต้

๕. คุณพ่อ “สุวรรณคํา” ต้นตระกูล “แสงโคตร” ท่านย้ายมาอยู่ทางตะวันออกและฝ่ายใต้สุดของคุ้มท่าบึง

๖. คุณพ่อ "กรม” ต้นตระกูล "โกกอุ่น” (แต่ต่อมาลูกของท่านพากันเปลี่ยนเป็น “ประเสริฐทรง”) ท่านก็อยู่คุ้มนี้ แต่ทางตะวันออกของคุ้มท่าบึงและท่ามกลางของคุ้ม

คุ้มบ้านดอน

๑. คุณพ่อ “จารย์บัวพา” ต้นตระกูลของ “หาญสุริย์” ท่านก็อยู่คุ้มนี้กลางของคุ้ม และคุ้มบ้านดอนเป็นคุ้มตะวันออกสุดของหมู่บ้านเป็ด และท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านคุ้มครองลูกบ้านเป็นอันดับที่ ๓ ต่อจากคุณพ่อ "ขุนพร”

๒. คุณพ่อ "จารย์นาม” (สีนวล) ต้นตระกูลของ “หาญสุริย์” (เป็นน้องชายของคุณพ่อบัวพา) ท่านก็อยู่คุ้มนี้ใกล้กับพี่ชาย

๓. คุณพ่อ “อุปละ” ต้นตระกูล "งอสอน” ท่านตั้งถิ่นฐานที่คุ้มบ้านดอน ค่อนข้างฝ่ายใต้ของคุ้มตะวันออก

๔  คุณพ่อ "ทองมี” ต้นตระกูลของ “บุตรปาละ” ท่านได้อยู่คุ้มนี้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคุ้มบ้านดอน

๕. คุณพ่อ "เหงิม” ต้นตระกูล “แสงโคตร” ท่านได้อยู่ทางฝ่ายตะวันตกเฉียงใต้ของคุ้มบ้านดอน

๖. คุณพ่อ "โม้” ต้นตระกูล “สิงห์เหลือ” ท่านอยู่คุ้มนี้และท่ามกลางของคุ้ม

๗   คุณพ่อ  “จารย์ปัสสา” ต้นตระกูลของ “แพงปัสสา” ท่านอยู่คุ้มนี ท่ามกลางของคุ้ม บ้านดอนค่อนข้างทางเหนือ คุ้มบ้านดอนแต่ตอน

๘    คุณพ่อ     "โง่น” ต้นตระกูลของ “พากองหน้า” ท่าน ตะวันตก ริมฝั่งหนองเป็ด ด้านตะวันออกของหนอง

ภาคที่ ๓

น้ำสาธารณประโยชน์

น้ําก็จําเป็นสําหรับมนุษย์ ฯลฯ ดังนั้น บรรพบุรุษของเรา จึงพร้อมใจกันซึ่งไหลมาจากทิศเห็นือสู่ทิศใต้ ไหลตกลําห้วยบ่อ ต่อไปตกป่าแซง ผ่านป่าแซงตกลําน้ําชี ทํานบนี้ป็นขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้านเป็ด มีเนื่อที่ ประมาณ ๒๘๓ ไร่ สามารถเก็บนําได้หลายหมื่นลูกบาศก์เมตร หรือลึกขนาด ๓ เมตร ในฤดูฝน ทํานบแห่งนี้สามารถเป็นบึง ผู้คนทั้งหลายจึงพากันเรียกชื่อว่า "บึง” (บึงกี) บึงกี   บ้านเป็ด นีมีประโยชน์มาก เช่น เพาะพันธุ์สัตว์นํา กุ้ง หอย ปู ปลานานาชนิด

การเพาะปลูกก็ดีมากตามฝังบึงกี มีพืชผักนานาพันธุ์เหมือนกัน ตลอดพืชผักนําเกิดขืนตามธรรมชาติ เช่น ตบชวา ผักหลอด ผักบุ้ง สาหร่าย สายบัว และจอก เป็นต้น  หมายเหตุ "บึงกี” มีประโยชน์มากมายมหาศาล ทางการได้มาดูและพัฒนาอยู่บ่อยๆ        เช่น ขุดลอก และเปลี่ยนทํานบดินเป็นคอนกรีตอย่างมันคงและถาวร ตอนที่มีนําหลากและเอ่ มากขึ้นก็มีช่องระบายน้ําไว้อย่างเรียบร้อย และจะมีถนนรอบบึงทุกด้าน ขณะนี่มีแล้วด้านหนึ่งด้านตรงกันข้ามทางการก็จะหางบประมาณมาทําเร็วๆ นี่สร้างวัด         วา - อาราม เป็นสถานอบรมบ่มนิสัยให้มนุษย์เราทําดีมีศีลธรรม และเป็นนาบุญของโลก ดังนั้น บรรพบุรุษของเราจึงพากันสร้างวัดขึ้นที่สันดอนป่าโจด ทางทิศใต้จึงได้ขนานนามวัดนี้ว่า “ท่าบึง”

QR Code หน้านี้